รกค้าง (Retention of Placenta)
รกค้าง
- รกไม่หลุดจากผนังมดลูกภายใน 12 ชั่วโมงภายหลังคลอดลูกแล้ว
- (ปกติไม่ควรเกิน 5-6 ชั่วโมง)
สาเหตุ
1. คลอดยาก dystocia (มดลูกหมดเเรง เฉื่อย ตัวลูกใหญ่ ผิดท่า )
2. คลอดก่อนกำหนด หรือ แท้งลูกจากสาเหตุต่างๆ (ลูกตาย)
3. โรคติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์ ในส่วนของรก (Placenta) ระหว่างการตั้งท้องหรือในระยะคลอด เช่น โรคบรูเซลโลซิส มดลูกอักเสบจากการติดเชื้อต่างๆ ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา
4. ความผิดปกติในตัวลูก เช่น ลูกตายทั้งกลมและเป็นมัมมี่ (ลูกกรอก) หรือคลอดลูกแฝด
5. การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางอย่าง เช่น วิตามินอี ธาตุซิลิเนี่ยม หรือแคลเซี่ยม E Se Ca
6. การใช้ยากลุ่มสตีรอยด์ (steroid)
อาการ
แม่โคแสดงอาการปวดและพยายามเบ่งให้ส่วนของรกที่ติดอยู่กับผนังมดลูกออกมา
สาเหตุ
1. คลอดยาก dystocia (มดลูกหมดเเรง เฉื่อย ตัวลูกใหญ่ ผิดท่า )
2. คลอดก่อนกำหนด หรือ แท้งลูกจากสาเหตุต่างๆ (ลูกตาย)
3. โรคติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์ ในส่วนของรก (Placenta) ระหว่างการตั้งท้องหรือในระยะคลอด เช่น โรคบรูเซลโลซิส มดลูกอักเสบจากการติดเชื้อต่างๆ ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา
4. ความผิดปกติในตัวลูก เช่น ลูกตายทั้งกลมและเป็นมัมมี่ (ลูกกรอก) หรือคลอดลูกแฝด
5. การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางอย่าง เช่น วิตามินอี ธาตุซิลิเนี่ยม หรือแคลเซี่ยม E Se Ca
6. การใช้ยากลุ่มสตีรอยด์ (steroid)
อาการ
แม่โคแสดงอาการปวดและพยายามเบ่งให้ส่วนของรกที่ติดอยู่กับผนังมดลูกออกมา
อาการทั่วไปของแม่โคจะไม่มีความผิดปกติมาก
นอกจากกินน้อยลงหรือปริมาณน้ำนมที่รีดได้ลดลง
แต่ถ้าไม่รีบแก้ไขโดยเร็วภายใน 12-24 ชั่วโมง
จะทำให้เกิดการอักเสบของผนังมดลูกเป็นเหตุให้เกิดปัญหาผสมติดยาก
เนื่องจากมีการติดเชื้อภายในมดลูกอย่างเรื้อรังตามมา
การแก้ไข
ไม่ควรใช้มือล้วงดึงเอารกที่ค้างออกมา เพราะอาจจะทำให้เลือดภายในมดลูกไหลไม่หยุดจนทำให้แม่โคเสียเลือดมากและตาย
การแก้ไข
ไม่ควรใช้มือล้วงดึงเอารกที่ค้างออกมา เพราะอาจจะทำให้เลือดภายในมดลูกไหลไม่หยุดจนทำให้แม่โคเสียเลือดมากและตาย
หรือเกิดการอักเสบเพราะติดเชื้อตามมาภายหลังได้
ควรสอดยาเม็ดเข้ามดลูกครั้งละ 2-3 เม็ด วันเว้นวัน จนกว่ารกที่ค้างอยู่จะเกิดการสลายตัวและไหลหลุดออกมาเอง
แต่ถ้ามีภาวะติดเชื้อร่วมด้วยสัตว์จะมีไข้ ควรให้ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลโฟนามีด (sulfonamide) IM / IV
การป้องกัน
ในฝูงโคที่มีประวัติรกค้างบ่อยๆ หรือในบางพื้นที่
การป้องกัน
ในฝูงโคที่มีประวัติรกค้างบ่อยๆ หรือในบางพื้นที่
ที่มีการขาดแร่ธาตุบางชนิด โดยเฉพาะซิลิเนี่ยม (Se)
ควรฉีดยาในกลุ่มวิตามิน ADE เข้ากล้ามเนื้อในช่วง 1 เดือนก่อนคลอด
หรือให้แร่ธาตุพวกนี้ผสมในอาหาร
หรือมีแร่ธาตุก้อนให้สัตว์ได้เลียกินตลอดเวลา จะช่วยป้องกันการเกิดรกค้างได้